โทร : 043-754-321 ถึง 40 ต่อเบอร์ภายใน : 4703, 4704 โทร/โทรสาร : 043-754-369
เลือกหน้า

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัด โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “มนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอภาพความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านวรรณกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ วรรณกรรมไทย วรรณกรรมลาว วรรณกรรมเขมร วรรณกรรมพม่า และวรรณกรรมมาเลเซีย อันจะทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภายในงานเป็นการบรรยายพิเศษหัวข้อ “เมื่อคิดให้ดีโลกนี้สีเขียว : การหันกลับสู่นิเวศวิจารณ์ (ecological turn) ในศตวรรษที่ 21”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ วรรณกรรมกับสิ่งแวดล้อม 4 เรื่อง ได้แก่

วรรณกรรมมาเลเซีย หัวข้อ “A Quest for Malaysian Environmental Justice in Yang-May Ooi’s The Flame Tree”

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ ประพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม )

วรรณกรรมเขมร หัวข้อ “ตึกต็วลเลสาบ (น้ำทะเลสาบ) : นัยเชิงนิเวศในวรรณกรรมเขมรร่วมสมัย”

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ สาลี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

วรรณกรรมลาว หัวข้อ “วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และต่อรองเชิงอำนาจ:กรณีศึกษาวรรณกรรม ซีไรต์ลาวเรื่อง อาถรรพ์แห่งพงไพร ของ ดอกเกด หรือ ดวงเดือน บุนยาวง

(อาจารย์สมพาวัน แก้วบุดดา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

วรรณกรรมพม่า หัวข้อ “จู: สำนึกเชิงนิเวศก่อนการมาถึงของนิเวศสำนึกในวรรณกรรมพม่า”

(อาจารย์ขวัญข้าว สังขพันธานนท์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

Pin It on Pinterest

Share This