วารสารมนุษย์กับสังคม Journal of Man and Society คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มิถุนายน 2566)
บทความที่ปรากฏในวารสารมนุษย์กับสังคมฉบับนี้ มีประเด็นศึกษาที่ครอบคลุม
ทั้งสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีทั้งเก้าบทความเกี่ยวกับวรรณกรรม หลักสูตร
การสอน ประวัติศาสตร์และสังคม
องค์ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยของมนุษย์ได้นำพา
เราไปสู่ความเข้าใจ ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้้เป็นอย่างดี ดังเช่น การศึกษาตำนานของ
กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในอำเภอซีเหมิง เมืองผูเอ่อ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เรื่องเล่าลาว
พลัดถิ่นในวรรณกรรมลาวหลังการเปลี่ยนแปลง การปกครอง หรือการศึกษาพัฒนาการ
ของวรรณกรรมพุทธศาสนาในพม่าและการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำพม่าในช่วงราชวงศ์
คองบอง หรืองานด้านอุุดมการณ์ความเป็นเด็กหญิงในนิทานชาดกจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเจ้า
ห้าร้อยชาติ รวมทั้งวรรณกรรมเชิงนิเวศที่กำลังนิยมศึกษากันอย่าง ฮีตสิบสอง: มุมมองประเพณี
เชิงนิเวศ “หุบเขาฝนโปรยไพร”: การประกอบสร้างและการนำเสนอดินแดนในอุดมคติ
เชิงนิเวศ และการสื่อสำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรม 4 เล่มของกนกพงศ์์สงสมพันธุ์ วารสารฯ
ได้นำเสนองานทางด้านภาษาศาสตร์และการสอน เรื่องกลวิธีการเขียนและลักษณะ
การปรากฏอักษรย่อและคำย่อทางวงศัพท์ธุรกิจในหนังสือพิมพ์ออนไลน์เวียดนาม และการตีความ
วากยสัมพันธ์ของนามวลีที่ใช้กับตัวคุณานุประโยคเฉพาะเจาะจง Which และ That ในตำราอาหาร
ภาษาอังกฤษ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการมองเห็นความสำคัญของกำลังขับเคลื่อนทางสังคม คือการมี
ส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านสู่นวัตกรรมชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนชาวบรู บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประเด็นศึกษาสาระ ความรู้ อันหลากหลายของบทความ
ทั้งเก้าเรื่องในฉบับนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตด้านเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งสาขา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวารสารฉบับนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์
จุดประกายจินตนาการ และเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านทั้งด้านความรู้ใหม่ ระเบียบวิธีวิจัย
ทางมนุษยศาสตร์ และการบูรณาการศาสตร์อื่นเข้ากับการศึกษาภาษา สังคม และวัฒนธรรม
การศึกษาตำนานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในอำเภอซีเหมิง เมืองผูเอ่อ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
การศึกษาตำนานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะในอำเภอซีเหมิง เมืองผูเอ่อ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (A Study of Lua Ethnic Group Legends in Ximeng District, Pu’er City, Yunnan Province, People’s Republic of China)
เรื่องเล่าลาวพลัดถิ่นในวรรณกรรมลาวหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เรื่องเล่าลาวพลัดถิ่นในวรรณกรรมลาวหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (The Story of the Diaspora Laotian in Lao Literature after the National Regime Change)
พัฒนาการของวรรณกรรมพุทธศาสนาในพม่าและการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำพม่าในช่วงราชวงศ์คองบอง
พัฒนาการของวรรณกรรมพุทธศาสนาในพม่าและการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำพม่าในช่วงราชวงศ์คองบอง (Development of Burmese Buddhist Literature in Burma and Worldview Adjustment of the Burmese Elites during the Konbaung Dynasty)
อุดมการณ์ความเป็นเด็กหญิงในนิทานชาดกจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติ
อุดมการณ์ความเป็นเด็กหญิงในนิทานชาดกจากพระไตรปิฎก เรื่องพระเจ้าห้าร้อยชาติ (Girlhood’s Ideology in the Jataka Tales from the Tripitaka: A Story of the 500-life God)
ฮีตสิบสอง: มุมมองประเพณีเชิงนิเวศ
ฮีตสิบสอง: มุมมองประเพณีเชิงนิเวศ (Ecological Tradition Perspective on Heet Sipsong - The Isan Twelve-Month Traditions)
“หุุบเขาฝนโปรยไพร” : การประกอบสร้างและการนำเสนอดินแดนในอุุดมคติเชิงนิเวศ และการสื่อสำนึกเชิงนิเวศ ในวรรณกรรม 4 เล่มของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์
“หุุบเขาฝนโปรยไพร” : การประกอบสร้างและการนำเสนอดินแดนในอุุดมคติเชิงนิเวศ และการสื่อสำนึกเชิงนิเวศ ในวรรณกรรม 4 เล่มของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (“Hoobkao Phon Proi Prai”: The Construction and Presentation of Ecotopia and Ecological Conscience in Four Literary Works of Kanokphong Songsomphan)
กลวิธีการเขียนและลักษณะการปรากฏอักษรย่อ และคำย่อทางวงศัพท์ธุรกิจ ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์เวียดนาม
กลวิธีการเขียนและลักษณะการปรากฏอักษรย่อ และคำย่อทางวงศัพท์ธุรกิจ ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์เวียดนาม (Writing Strategies and Occurrences in Abbreviation and Acronym of the Business Vocabulary in Vietnamese Online Newspapers)
การตีความวากยสัมพันธ์ของนามวลีที่ใช้กับตัวคุณานุประโยคเฉพาะเจาะจง Which และ That ในตำราอาหารภาษาอังกฤษ
การตีความวากยสัมพันธ์ของนามวลีที่ใช้กับตัวคุณานุประโยคเฉพาะเจาะจง Which และ That ในตำราอาหารภาษาอังกฤษ (Syntactic Interpretations of Noun Phrases with Restrictive Relativizers Which and That in English Cookbooks)
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้าน สู่นวัตกรรมชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนชาวบรู บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้าน สู่นวัตกรรมชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนชาวบรู บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี (The Community’s Participation in the Development of the Traditional Cloth Weaving Wisdom for Communal Innovation according to the Creative Economy: A Case Study of the Bru Community of Ban Talong, Tambon Huaypai of Khong Chiam, Ubon Ratchathani Province)