วารสารมนุษย์กับสังคม Journal of Man and Society คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม- ธันวาคม 2564)
การระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่จางหาย พายุนำฝนมาพร้อมน้ำท่วมในหลายพื้นที่
ของประเทศ โดยเฉพาะภาคอีสาน และไม่มีทีท่าจะจากไปง่าย ๆ แม้จะมีฝนเริ่มหยุดตกแล้้วก็ตาม
ถึงจะประสบเหตุใด ๆ การดำเนินชีวิตก็ยังดำเนินอยู่ พร้อมกับการเฝ้าระวังและพัฒนา เช่นเดียว
กับวารสารมนุษย์กับสังคมที่ต้องพัฒนาเนื้อหา คุณภาพ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์
ต่าง ๆ
“วารสารมนุษย์กับสังคม” ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม 64 - ธันวาคม 64) บทความที่
ปรากฏในวารสารมนุษย์กับสังคมฉบับนี้ มีประเด็นศึกษาที่ครอบคลุมทั้งสาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ โดยมีีทั้้งหมด 9 บทความ จากสาขาประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ หลักสูตรการสอน
และการพัฒนาสังคม รวมทั้งด้านการสื่อสาร
ประกอบด้วย บทความเรื่องที่หนึ่ง “ผู้นำอำนาจและการเปลี่ยนแปลงการใช้ปรัชญา
ความเชื่อในจีนยุคราชวงศ์” เรื่องที่สอง “ภาพตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในหนังสือ
ปกแดงคติพจน์เหมาเจ๋อตง: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์” เรื่องที่สาม
“การสร้างข้าราชการนักปกครองในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2435-2458” เรื่องที่สี่ “ชาวตลาด: การเปลี่ยนแปลงและ
ความสัมพันธ์ของผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดเมืองขอนแก่น” เรื่องที่ห้า “การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด
ในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลััยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก” เรื่องที่หก
“คุณค่าข่าวสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์” เรื่องที่เจ็ด “คำเรียกผู้หญิงในวรรณกรรมนิทานพระรถเมรี
ฉบับภาษาไทย” เรื่องที่แปด “ศาลาแก้วกู่: เรื่องเล่ากับกลวิธีการสร้างพหุวัฒนธรรมในชุมชนแม่น้ำ
โขง” และเรื่องที่เก้า “ความหมายของคำว่า ‘ได้’ ในภาษาลาว: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์
ปริชาน”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ประเด็นศึกษา สาระ ความรู้อันหลากหลายของบทความทั้งเก้า
เรื่องในฉบับนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตด้านเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งสาขามนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ และวารสารฉบับนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์ จุดประกายมุมมอง และ
เกิดประโยชน์ทั้งด้านความรู้ใหม่ ระเบียบวิธีวิจัย และการบูรณาการศาสตร์อื่นเข้ากับการศึกษา
ภาษา สังคม และวัฒนธรรม
ในโอกาสนี้ วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านที่ส่งผลงานมาร่วมเผยแพร่สู่วงการวิชาการ
รวมทั้งขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่สละเวลาอันมีค่าร่วมกันพิจารณา เสนอแนะผลงาน
มา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้นำ อำนาจและการเปลี่ยนแปลงการใช้ปรัชญา ความเชื่อในจีน ยุคราชวงศ์
ผู้นำ อำนาจและการเปลี่ยนแปลงการใช้ปรัชญา ความเชื่อในจีน ยุคราชวงศ์ (Leaders, Power, and Changes in the Practices of Philosophy and Belief in China during the Period of Dynasties)
ภาพตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในหนังสือปกแดง คติพจน์เหมาเจ๋อตง: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ภาพตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในหนังสือปกแดง คติพจน์เหมาเจ๋อตง: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (The Representation of Communist Party in Quotation from Chairman Mao-Tse Tung: A Critical Discourse Analysis)
การสร้างข้าราชการนักปกครองในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2435-2458
การสร้างข้าราชการนักปกครองในสมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2435-2458 (The Formation of Government Officers during Prince Damrong Rajanubhab’s term as Minister of Interior, 1892 - 1915)
ชาวตลาด: การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดเมืองขอนแก่น
ชาวตลาด: การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของผู้ค้ารายย่อยในตลาดสดเมืองขอนแก่น (Market People: Change and Relation among Food Retailers in Wet Market in Khon Kaen City)
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก (The Error Analysis in Thai essays of the First-Year Students Majoring in English for International Communication, Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajamangala University of Technology Tawan-ok)
คุณค่าข่าวสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์
คุณค่าข่าวสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ (News Values in Children’s Rights News in Online Media)
คำเรียกผู้หญิงในวรรณกรรมนิทานพระรถเมรี ฉบับภาษาไทย
คำเรียกผู้หญิงในวรรณกรรมนิทานพระรถเมรี ฉบับภาษาไทย (Feminism Terms of Tale Literary Work “Phra Roth Meri” In Thai Version)
ศาลาแก้วกู่ : เรื่องเล่ากับกลวิธีการสร้างพหุวัฒนธรรมในชุมชนแม่น้ำโขง
ศาลาแก้วกู่ : เรื่องเล่ากับกลวิธีการสร้างพหุวัฒนธรรมในชุมชนแม่น้ำโขง (Sala Keo Kou: Narrative and Strategies for Creating Multiculturalism inthe Mekong Communities)
ความหมายของคำว่า ‘ได้’ ในภาษาลาว: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน
ความหมายของคำว่า ‘ได้’ ในภาษาลาว: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน (The Meaning of /dâi/ in Lao: A Cognitive Semantic Study)