วารสารมนุษย์กับสังคม Journal of Man and Society คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
เบทความในวารสารมนุษย์กับสังคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 นำ
เสนอเนื้อหาการวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ การใช้ภาษา แรงงานข้ามชาติ วิจัยชุมชน และ
เรื่องเล่าในพิธีกรรม รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือที่น่าสนใจ
บทความทางด้านภาษาศาสตร์และการใช้ภาษา บทแรก “เสียงย่อยของพยัญชนะ
กักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน”แสดงให้เห็นว่าพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน
สามารถออกเสียงย่อยได้หลายเสียงตามแต่จะปรากฏในบริบทใด โดยบางบริบทสามารถ
ใช้เสียงย่อยของพยัญชนะกักแบบภาษาไทยแทน แต่ในหลายบริบทภาษาไทยไม่มีเสียง
ย่อยนั้น กฎการออกเสียงนี้นักเรียนไทยอาจนำไปใช้กับการฝึกออกเสียงสำเนียงอเมริกัน
ได้ ส่วนบทความ “คำซ้อนในภาษาถิ่นเหนือ” ศึกษาโครงสร้างและความหมายของคำซ้อน
ในภาษาถิ่นเหนือ พบว่าโครงสร้างคำซ้อนมี 2 พยางค์ 4 และมากกว่า 4 พยางค์ เป็นการ
ซ้อนเพื่อเสียงและเน้นความหมาย ส่วนบทความ “กลวิธีการแสดงอารมณ์ขันในรายการซู
เปอร์หม่ำ”พบกลวิธีเสียดสีประชดประชัน การสร้างเรื่องให้เกินจริง การตั้งสมญานามให้
บุคคล การทำให้เป็นเรื่องสัปดน กลวิธีการใช้ภาษาและกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ ที่ช่วย
เสริมให้รายการมีอารมณ์ขันและความสนุกสนาน
การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติในบทความเรื่อง “การให้บริการสุขภาพแก่
แรงงานข้ามชาติกัมพูชาของสถานีอนามัยบ้านคลองมะขาม หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอ
คลองใหญ่ จังหวัดตราด” พบว่าการให้บริการสุขภาพแก่แรงงานเน้นการให้บริการขั้นพื้นฐาน
ทั่วไป และมีข้อจำกัดในการดำเนินงาน แรงงานบางกลุ่มยังไม่ทราบการให้บริการของสถานี
อนามัย รวมถึงยังมีปัญหาด้านการสื่อสารเมื่อเข้าไปใช้บริการในสถานีอนามัย บทความอีก
เรื่องหนึ่งคือ “การเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ชุมชนปากน้ำ
ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง” พบว่ากระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กชาว
กัมพูชานั้น เกิดจากการติดตามผู้ปกครองเข้ามา จำเป็นต้องหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว
บางส่วนมีปัญหาการปรับตัวในชั้นเรียนเมื่อเข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทย จึงเข้าเป็น
แรงงานทั้งในสถานประกอบการประมงและรับจ้างทั่วไป มีรายได้แตกต่างกันไปตามลักษณะ
งานที่ทำ
งานการศึกษาชุมชน “การฟื้นฟูกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพระครู อำเภอ
เมือง จังหวัดบุรีรัมย์” เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟู
กองทุน พบว่ามีปัจจัยหลายประการ จากปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิด
และหลักการจัดสวัสดิการชุมชน ไม่มีทักษะการบริหารกองทุน การจัดระบบเอกสาร การ
ประชาสัมพันธ์และการให้ความร่วมมือของผู้นำชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นฟูกองทุนในลำดับ
ต่อไป บทความจากงานวิจัยเรื่อง “การจัดการพิพิธภัณฑ์บ้านขุนอำไพพาณิชย์” เป็นการ
ศึกษาเพื่อนำเสนอรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการพิพิธภัณฑ์ ผลการศึกษา
พบว่า มีการบริหารงานพิพิธภัณฑ์โดยทายาทขุนอำไพพาณิชย์และกรมศิลปากร ปัญหา
ที่พบคือ จำนวนผู้เข้าชมยังมีไม่มากนัก ยังไม่มีบุคลากรประจำให้บริการ การเข้าไปศึกษา
ต้องนัดหมายล่วงหน้า ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางและรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป ส่วนบทความเรื่อง “เรื่องเล่าและพิธีกรรม
บวงสรวงองค์ปู่พญานาค ของชาวตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร”
กล่าวถึงพิธีกรรมที่มีการนำเอาความเชื่อดั้งเดิมในอดีต ความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ พุทธ เข้า
มาใช้ในพิธีกรรมบวงสรวงองค์ปู่พญานาคที่จัดขึ้นทุกปี ประกอบด้วยพิธีกรรม 7 พิธี พิธีที่
สำคัญคือ พิธีบวงสรวงองค์ปู่พญานาคและองค์ย่าพญานาค พิธีลอยดอกบัวพุทธบูชาและ
พิธีอัญเชิญพระพิฆเนศ แต่ละพิธีกรรมชาวบ้านเชื่อว่าจะทำให้เกิดสิริมงคลต่อชุมชนอยู่กับ
อย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
สำหรับบทความวิจารณ์หนังสือ “ลืมตา อ้าปาก จากชาวนา สู่ผู้ประกอบการ” ผู้
เขียนคือ อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ผู้วิจารณ์ได้กล่าวถึงความน่าสนใจและจุดเด่นของหนังสือ
ที่สรุปมาจากโครงการวิจัยเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลงชนบทในสังคมไทย : ประชาธิปไตยบน
ความเคลื่อนไหว” แสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนสังคมในชนบทที่ไม่หยุดนิ่งได้อย่างน่าสนใจ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารมนุษย์กับสังคม จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์
จุดประกายจินตนาการอันนำไปสู่ความรู้ เปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัยได้
นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้า การวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงวิชาการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาชีวิต ชุมชน
สังคม ประเทศชาติและสังคมโลกสืบไป
เสียงย่อยของพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน
เสียงย่อยของพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (Allophones of Stop Consonants in American English)
คำซ้อนในภาษาไทยถิ่นเหนือ
คำซ้อนในภาษาไทยถิ่นเหนือ (SYNONYMOUS COMPOUNDS IN THE NORTHERN THAI DIALECT)
“กลวิธีการแสดงอารมณ์ขันในรายการซูเปอร์หม่ำ”
“กลวิธีการแสดงอารมณ์ขันในรายการซูเปอร์หม่ำ” (Techniques of using humor in Super Mum.)
การให้บริการสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติกัมพูชา ของสถานีอนามัยบ้านคลองมะขาม หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
การให้บริการสุขภาพแก่แรงงานข้ามชาติกัมพูชา ของสถานีอนามัยบ้านคลองมะขาม หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (Providing Service to Cambodian Migrant Workers of Bann Khlong Makham Public Health Station Moo 1 Had-Lek Subdistrict, Khlong Yai District, Trat Province)
การฟื้นฟูกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การฟื้นฟูกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (Rehabilitation of community welfare fund Phra Khru subDistrict, Muang District, Buriram Province.)
การเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ชุมชนปากน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
การเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ชุมชนปากน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (The Process of Becoming Cambodian Transnational Child Labor in Paknam community, Paknam Subdistrict, Mueang District, Rayong Province.)
การจัดการพิพิธภัณฑ์บ้านขุนอำไพพาณิชย์
การจัดการพิพิธภัณฑ์บ้านขุนอำไพพาณิชย์ (Management of the Historic House Museum of Khun Ampai Panich.)
เรื่องเล่าและพิธีกรรมบวงสรวงองค์ปู่พญานาคของชาวตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
เรื่องเล่าและพิธีกรรมบวงสรวงองค์ปู่พญานาคของชาวตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร (A Warshipping Narratives of “Pithikham Bluing Suang Aong Poo Phayanak” Rituals of Villangers Bang Sai Yai District Mukdahan Provine.)