วารสารมนุษย์กับสังคม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2

วารสารมนุษย์กับสังคม Journal of Man and Society คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มิถุนายน 2561)

บทบรรณาธิการ

     บทความในวารสารมนุษย์กับสังคม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน 2561 มี เนื้อหาการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวและการจัดการในชุมชน ประวัติศาสตร์ การพัฒนาการเรียนการสอน ภาษาและวรรณกรรมทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวม ทั้งบทวิจารณ์หนังสือ
     การท่องเที่ยวเชิงพุทธ : กรณีศึกษาภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์ในพื้นที่อีสานตอน ล่าง”เป็นบทความจากการวิจัยเพื่อศึกษาภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์ ทรัพยากรทางพุทธ ศาสนา และการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์พระวิปัสสนา จารย์ในพื้นที่อีสานตอนล่าง พบว่า จุดกำเนิดของพระวิปัสสนาจารย์ในภาคอีสานคือที่ จังหวัดอุบลราชธานี มีการขยายตัวไปในพื้นที่อีสานตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมาและ สุรินทร์ ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความโดดเด่นในการท่องเที่ยวเชิงพุทธคือ วัด พระเจดีย์ พิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อัฐิธาตุ และศาสนธรรม มีเส้นทางท่องเที่ยวเชิงพุทธใน จังหวัดอุบลราชธานี และเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดอีกสองเส้นทางซึ่งสามารถจัดเป็น กลุ่มท่องเที่ยวเส้นทางอาจาริยบูชาได้ต่อไป ส่วนการวิจัยชุมชนอีกเรื่องหนึ่งเพื่อศึกษา “รูป แบบและกระบวนการจัดสวัสดิการสังคมแบบมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ และ ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม” ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัด สวัสดิการได้แก่ กองบุญสัจจะสวัสดิการชุมชนตำบลวังแสง และกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลวังน้อย มีกระบวนการจัดการแบบมีส่วนร่วม บริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ คนในชุมชนร่วมรับผลประโยชน์ และติดตามประเมินผลผ่านเวทีประชุมประจำปี
     บทความทางประวัติศาสตร์ “ระบบคิดและสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์จากคำบอก เล่า : ศึกษาจากกรณีตำนาน บึงพระราม กับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893” โดย ใช้เอกสารคือ คำให้การชาวกรุงเก่า พงศาวดารเหนือ และพงศาวดารฉบับวัน วลิต จาก การวิเคราะห์พบว่า หลักฐานทั้งสามเล่าเรื่องการสถาปนากรุงศรีอยุธยาตามมุมมองและ โลกทัศน์ของคนชั้นไพร่ เนื้อความจึงแตกต่างกับหลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารฉบับ บันทึกและชำระโดยราชสำนัก จึงควรได้รับความสนใจในฐานะประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกประการหนึ่งด้วย
     การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจากบทความเรื่อง “การพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประกอบ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน” พบว่าแผนการจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพสูง กว่าเกณฑ์ 94.29/83.04 ผลการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อย ละ 58.73 และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนบทความที่เกี่ยวข้อง กับการเรียนการสอนอีกเรื่องหนึ่งคือ การศึกษาแบบเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวเรื่อง “ภาพของศัตรู ในหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาลาว ปี 1984-1987” จากการศึกษาพบว่า หนังสือเรียนนำเสนอภาพของศัตรูเพื่อปลูกฝังอุดมการณ์และการสร้าง สำนึกของความเป็นชาติจากการกล่อมเกลาทางการเมือง สร้างความเกลียดชังและโกรธแค้น ให้แก่เยาวชนลาว ในยุคของการสร้างความเป็นลาวในระบอบสังคมนิยมแบบเข้มข้น
     การศึกษาภาษาและวรรณกรรมจากบทความ 3 เรื่องคือ “การเปลี่ยนแปลงคำยืม ภาษาเขมรที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 กับพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554” พบว่าคำยืมจากภาษาเขมรมีรูปศัพท์คงเดิมมาก ส่วนรูป ศัพท์ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ เปลี่ยนความหมายของคำ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ความ หมายแคบเข้า ความหมายกว้างออก และความหมายย้ายที่ ส่วนการศึกษาวรรณกรรมจะ เป็นการศึกษาจากนิทานและวรรณกรรมเพลงคือบทความ “อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับ สัตว์ในนิทานอีสป” จากนิทานอีสป 25 เรื่องพบสัตว์ในนิทาน 5 ประเภท อุปลักษณ์เชิงมโน ทัศน์ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคือราชสีห์ที่มีอำนาจ สัตว์ปีกคือ หงส์ผู้มีความงามและ ความดี สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำคือกบผู้มีความโง่เขลา สัตว์เลื้อยคลานคืองูผู้มีความอกตัญญู และความเจ้าเล่ห์ และแมลงคือ มด ผึ้งผู้มีความสามัคคี และบทความ “เรื่องเล่าในเพลง ลูกทุ่งอีสาน” ศึกษาจากเพลงลูกทุ่งอีสานยอดนิยมจำนวน 300 เพลง พบเรื่องเล่าในเพลง ลูกทุ่งอีสาน 4 ลักษณะคือ เรื่องเล่าทางกายภาพ เรื่องเล่าทางวัฒนธรรม เรื่องเล่าเป็น สัญลักษณ์ แสดงความจริงผ่านการเชื่อมโยงอารมณ์และความคิด และเรื่องเล่าเน้นเรื่อง ของจิตใจ โดยมีความมุ่งหมายในการแต่งเพลงคือ เพื่อเสนอศิลปะการประพันธ์เพลง วาง รากฐานจริยธรรมอีสาน ผู้ร้องสวมบทบาทและสถานภาพของตัวละครในบทเพลง ผู้ฟังได้ ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน และเสนอกระบวนการทำงานของนายทุนค่ายเพลง ซึ่งเป็นการกระทำแบบมีจุดมุ่งหมาย
     สำหรับบทความวิจารณ์หนังสือ “สัจนิยมมหัศจรรย์ในงานของกาเบรียล การ์ เซีย มาร์เกซ, โทนี มอร์ริสัน และวรรณกรรมไทย ของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์” ได้สำรวจ สถานภาพของวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ที่ได้รับการพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย ผู้เขียนได้ ศึกษาและลงลึกถึงรายละเอียดต่างๆ อย่างเข้มข้น เหมาะสำหรับนักศึกษาทางวรรณกรรม หรือนักอ่านที่อยากรู้เรื่องราวของวรรณกรรมในแนวทางนี้
     วารสารมนุษย์กับสังคม ยินดีเปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัยได้ นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้า การวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงวิชาการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าบทความที่ผ่านการคัดสรรโดยกองบรรณาธิการ และกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะมี ประโยชน์ต่อผู้อ่านรวมทั้งผู้สนใจในวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจน ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป




บทความ

avatar

การท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษาภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์ในพื้นที่อีสานตอนล่าง

| ฉลอง พันธ์จันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษาภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์ในพื้นที่อีสานตอนล่าง (Buddhist Tourism: A Case Study of Landscape of Buddhist Meditation Teachers in Lower Northeast)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

รูปแบบและกระบวนการจัดสวัสดิการสังคมแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ และตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

| ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

รูปแบบและกระบวนการจัดสวัสดิการสังคมแบบมีส่วนร่วม พื้นที่ตำบลวังแสง อำเภอแกดำ และตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (A Participatory Model and Process for Social Welfare Services in Yang Noi Sub-district in Kosumpisai District, Maha Sarakham Province.)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

ระบบคิดและสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า(Oral history): ศึกษากรณีตำนานบึงพระราม กับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893

| กำพล จำปาพันธ์ อาจารย์พิเศษสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ระบบคิดและสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า(Oral history): ศึกษากรณีตำนานบึงพระราม กับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 (Thought System and Symbolic in Oral History: Case Study of the Historical Myths in “Bueang Praram” (Nong Sano) and King U-Thong Established Ayutthaya B.E. 1893)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

ภาพของ “ศัตรู” ในหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาลาวปี 1984-1987

| วัชรี ศรีคำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ภาพของ “ศัตรู” ในหนังสือเรียนชั้นประถมศึกษาลาวปี 1984-1987 (Portrayal of “the Enemy” in 1984-1987 Laos Elementary School Textbooks)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงมาตราชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน

| เจนจิรา สีหะวงษ์, ดนิตา ดวงวิไล, วรางคณา เทศนา

การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำที่มีตัวสะกดตรงมาตราชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (The Ability Development Thai Spelling of Prathomsuksa 1 Students By Using Instruction media and Brain based Learning.)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

การเปลี่ยนแปลงของคำยืมภาษาเขมรที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 กับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

| ณัชญ์ฐาภา สะตะ, เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์

การเปลี่ยนแปลงของคำยืมภาษาเขมรที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 กับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (Changes of Khmer loanwords appears in Thai dictionary 2493 B.E. and Thai dictionary 2544 B.E.)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับสัตว์ในนิทานอีสป

| อรุณวรรณ นิตุธร ครู ค.ศ.1 โรงเรียนอนุบาลยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับสัตว์ในนิทานอีสป (Metaphor Conceptual Animal in Aesop’s Fables)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download
avatar

เรื่องเล่าในเพลงลูกทุ่งอีสาน

| มะณีรัตน์ รักเพื่อน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์

เรื่องเล่าในเพลงลูกทุ่งอีสาน (Tale in Isan Classic Song.)

| Date online: 29/09/2023
Read/Download