วารสารมนุษย์กับสังคม Journal of Man and Society คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มกราคม - มิถุนายน 2560)
วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มกราคม-กรกฎาคม 2560) นำเสนอบทความที่เกี่ยวกับการ
ศึกษาปรัชญาและปรากฏการณ์ทางด้านศาสนาจากวรรณกรรมและสังคมไทย การศึกษา
เอกสารทางประวัตศิ าสตร์ ข่าวจากสื่อมวลชน การพัฒนาการเรียนการสอน และบทวิจารณ์
หนังสือ
บทความที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปรัชญาหลักธรรมทางพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรม
ในฉบับนี้มี 3 เรื่อง เริ่มจากการศึกษาผลงานของศิลปินมรดกอีสานสาขาวรรณศิลป์
“หลักธรรมเพื่อการหลุดพ้นในวรรณรูปของ ทยาลุ” ซึ่งมีจุดเริ่มจากวรรณรูปอย่าเห็นแก่ตัว
สู่การทำความเข้าใจชีวิต โลก และจักรวาลที่อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา
และอตัมมยตา นำไปสู่การเจริญสติเพื่อเห็นตามความเป็นจริง และฝึกฝนจนเท่าทันการเกิด
ทุกข์-ดับเหตุแห่งทุกข์ตามหลักอริยสัจสี่ ส่วนบทความเรื่อง “ตุ๊กตารอยทราย: การผสานกวี
นิพนธ์ปรัชญาศาสนาและกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต” พบว่ากวีมุ่งเสนอแนวคิดหรือปรัชญาที่ชวน
ให้ดำรงชีวิตอย่างง่ายงาม แอบอิงกับธรรมชาติ ลดละกิเลส ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น
และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นหนทางสงบสันติในโลกอันสับสนวุ่นวาย สำหรับบทความเรื่อง
ที่ 3 “ชื่อตัวละครพระโพธิสัตว์ในชาดกพื้นบ้านอีสาน” ทำให้เข้าใจคำเรียกชื่อตัวละครพระ
โพธิสัตว์ที่มีความหลากหลาย สะท้อนวิธีคิด ความรู้ภาษาต่างประเทศของคนอีสาน แสดง
ให้เห็นแนวคิดในการตั้งชื่อตัวละคร ซึ่งบางชื่อมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างความเชื่อ
แบบผีดั้งเดิมกับพุทธศาสนา หรือศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายานอีกด้วย
การศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาผ่านวรรณกรรม ยังมีบทความที่ศึกษาภาค
สนามในชุมชนชาวคริสต์ “การสร้างพื้นที่ทางสังคมของชาวคริสต์ บ้านสองคอน อำเภอ
หว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร” พบว่า ชาวคริสต์มีรูปแบบการสร้างพื้นที่ทางสังคมผ่าน
เรื่องเล่า การสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพื้นที่แห่งความทรงจำให้เป็นพื้นที่สาธารณะ การปรับ
เปลี่ยนความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาให้มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมพันทาง โดยใช้วิธีการ
ผสมผสานทางวัฒนธรรมให้คนทุกศาสนาเข้าร่วมได้ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง
มีศักดิ์ศรี คล้ายกันกับบทความวิเคราะห์วรรณกรรมกวีนิพนธ์ร่วมสมัย “คนพลัดถิ่นใน
กวีนิพนธ์อีสาน” วิเคราะห์รวมบทกวี หัวใจห้องที่ห้า ของ อังคาร จันทาทิพย์ กับ คะนึง
ถึงบ้านขณะฝันในเมือง ของ โขงรัก คำไพโรจน์ ซึ่งกล่าวถึงคนอีสานพลัดถิ่นที่ดำรงตนอยู่
ในสังคมอีกสังคมหนึ่ง จากบทกวีนิพนธ์พบว่าคนพลัดถิ่นอีสานมีความทรงจำถึงบ้านเกิด
การหวนหาบ้านเกิด ความเป็นมาของชาติพันธุ์ ความมีอารยธรรมและมีเรื่องเล่าถึงตำนาน
บ้านเกิด แสดงอัตลักษณ์ของคนอีสานพลัดถิ่นที่ดำรงตนอยู่ในสังคมอื่น
บทความ “เปรียบเทียบการนำเสนอเนื้อหาข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์
ออฟไลน์กับหนังสือพิมพ์ออนไลน์” มุ่งศึกษารูปแบบและโครงสร้างการเขียนข่าว
อาชญากรรมจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ พบว่า โครงสร้างข่าวจะเขียนเหมือนกัน โดยนิยม
การพาดหัวข่าวแบบเลือกสรรคำพาดหัวข่าวด้วยประเด็นสำคัญและสร้างความเข้าใจ
ได้อย่างกระจ่าง การเขียนความนำนิยมเขียนแบบ Who Lead ลักษณะการเขียนเนื้อข่าว
นิยมเขียนแบบเคลื่อนไหว ส่วนรูปแบบการเขียนข่าวอาชญากรรม นิยมใช้รูปแบบพีระมิด
หัวกลับเหมือนกัน
การศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์จากบทความ “สงครามคราวเสียกรุง
พ.ศ. 2112 ในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย ลาว และพม่า” พบว่าด้วยเงื่อนไขปัจจัยที่เกี่ยว
เนื่องกับผู้แต่งเอกสารแตกต่างกัน จึงส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการอธิบายที่ใช้เหตุการณ์
สงคราม พ.ศ. 2310 ไปเป็นมาตรฐานมุมมองต่อสงคราม พ.ศ. 2112 ในฐานะสงครามเสีย
กรุงครั้งที่หนึ่ง และนิยามสงคราม พ.ศ. 2310 ในฐานะสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรม
การเรียนรู้เรื่อง พระอภัยมณี ตามรูปแบบ ACACA ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” พบว่ากิจกรรมการ
เรียนรู้ เรื่องพระอภัยมณี รูปแบบ ACACA มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ผลสัมฤทธิ์ก่อน
และหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถ
ด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดีมาก สำหรับบทวิจารณ์หนังสือในวารสารฉบับนี้ เป็นบท
วิจารณ์หนังสือ Critical Theory Today: A User-Friendly Guide (Second Edition) ผู้แต่ง
Lois Tyson ซึ่งผู้วิจารณ์เสนอมุมมองในการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ
กองบรรณาธิการมีความยินดีในการรับพิจารณาบทความ เปิดพื้นที่ให้นักวิชาการ
และนักวิจัยได้นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในวารสารมนุษย์กับสังคม ที่ผ่านการคัดสรรโดยกอง
บรรณาธิการ และกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ตลอดจนผู้สนใจใน
วงวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างกว้างขวางต่อไป
หลักธรรมเพื่อการหลุดพ้นในวรรณรูปของ ทยาลุ
หลักธรรมเพื่อการหลุดพ้นในวรรณรูปของ ทยาลุ (The principles for liberation in Tialu’s Concrete Poetry)
การสร้างพื้นที่ทางสังคมของชาวคริสต์ บ้านสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
การสร้างพื้นที่ทางสังคมของชาวคริสต์ บ้านสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร (Social Space Construction of the Christians in Song Khon Village,Wan Yai District, Mukdahan Province)
“ตุ๊กตารอยทราย” การผสานกวีนิพนธ์ปรัชญา ศาสนาและกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต
“ตุ๊กตารอยทราย” การผสานกวีนิพนธ์ปรัชญา ศาสนาและกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต (“Tukta Roisai” The combination of religion philosophy poetry and poetry to life.)
ชื่อตัวละครพระโพธิสัตว์ในชาดกพื้นบ้านอีสาน
ชื่อตัวละครพระโพธิสัตว์ในชาดกพื้นบ้านอีสาน (Bodhisattva character’s names in the Isan Folk Jatakas)
คนพลัดถิ่นในกวีนิพนธ์อีสาน
คนพลัดถิ่นในกวีนิพนธ์อีสาน (Diaspora in the Esann Poetry)
เปรียบเทียบการนำเสนอเนื้อหาข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ออฟไลน์กับหนังสือพิมพ์ออนไลน์
เปรียบเทียบการนำเสนอเนื้อหาข่าวอาชญากรรมในหนังสือพิมพ์ออฟไลน์กับหนังสือพิมพ์ออนไลน์ (A Comparative Study of Crime News in online and offline Newspapers)
สงครามคราวเสียกรุง พ.ศ. 2112 ในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย ลาว และพม่า
สงครามคราวเสียกรุง พ.ศ. 2112 ในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย ลาว และพม่า (The Wars When Siamese loose Ayutthaya to Burmese in1569 Study from the Historical Documents of Thai, Laos and Burmese)
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง พระอภัยมณี ตามรูปแบบ ACACA ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง พระอภัยมณี ตามรูปแบบ ACACA ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The development of learning activities on Phraaphaimanee by ACACA model Toward achievement and critical thinking skills of Mathayomsueksa 3 students.)