โทร : 043-754-321 ถึง 40 ต่อเบอร์ภายใน : 4703, 4704 โทร/โทรสาร : 043-754-369
เลือกหน้า

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย 

Doctor of Philosophy Program in Thai

ความสำคัญของหลักสูตร

          สถานการณ์โลกและภูมิภาคในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างรวดเร็ว ความมั่นคงปลอดภัย คุณภาพชีวิต ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การเผชิญกับโรคอุบัติใหม่ ตลอดจนการจัดระเบียบและการแข่งขันของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจของโลกที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นที่ต้องปรับแผนยุทธศาสตร์ และวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ดังนั้น ความจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ สมรรถนะ และศักยภาพที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้มีขีดความสามารถ เป็นผู้นำทางความรู้และความคิดที่จะทำให้การพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

          ภาษาไทยถือเป็นภาษาประจำชาติ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติได้เป็นอย่างดี ในยุคปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยซึ่งได้รับผลกระทบจากสังคมภายนอก ในกรณีของภาษาไทยเราก็จะพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการสัมผัสและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นกับอาณาประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศในแถบตะวันตกและในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

          ในปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษาที่ต้องการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางภาษาไทยเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยในสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับอุดมศึกษา หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ได้ผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและสังคมส่วนรวมทั้งในประเทศและกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและสังคมดังกล่าว นอกจากนี้หลักสูตรยังมุ่งที่จะพัฒนาและสร้างนักวิชาการทางภาษาไทยในท้องถิ่นในฐานะบุคลากรของชาติให้มีความรู้และความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับภาษาไทยอันภาษาประจำชาติให้มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันเป็นการใช้ความรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ที่วางอยู่บนฐานของทุนวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาที่บรรพชนคนไทยได้สั่งสมสืบทอดกันมาเนิ่นนาน

          หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยจึงได้ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคมโดยรวม โดยการแยกสายวิชาให้มีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้น คือ ด้านภาษาไทย ด้านวรรณคดีไทย และด้านคติชนวิทยา ทั้งนี้เพื่อให้ดุษฎีบัณฑิตมีความรู้ในศาสตร์แต่ละสายแต่ละกลุ่มให้มีความรู้เฉพาะทางเพื่อสร้างเป็นเลิศทางวิชาการให้มากขึ้น อีกทั้งยังจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างมีบูรณาการเพื่อให้สังคมไทยเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” และสามารถใช้ภูมิปัญญาทางภาษาของชาตินั้นเพื่อนำไปสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศชาติได้สืบไป

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย (ชื่อเต็ม)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย)

ภาษาไทย (ชื่อย่อ)

ปร.ด.  (ภาษาไทย)

ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม)

Doctor of Philosophy (Thai)

ภาษาอังกฤษ (ชื่อย่อ)

Ph.D.(Thai)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต

รายละเอียดหลักสูตร

ภาษาไทย แบบ 2.1 ในเวลาราชการ (รหัสหลักสูตร 6015614)

ภาษาไทย แบบ 2.1 ในเวลาราชการ (รหัสหลักสูตร 6016102)

ภาษาไทย แบบ 2.1 ในเวลาราชการ (รหัสหลักสูตร 6016604)

ภาษาไทย แผน 2.1 นอกเวลาราชการ

ปรัชญา

           หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มุ่งผลิตสร้างนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาไทย วรรณกรรมไทย และคติชนวิทยาที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อสืบสานและนำไปเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในฐานะเป็นภูมิปัญญาทางภาษาของชาติอย่างยั่งยืน

ข่าวสารกิจกรรม

ทดสอบวัดความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ MSU EPT

ทดสอบวัดความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ MSU EPT

ศูนย์ทดสอบภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม MAHASARAKHAM UNIVERSITY ENGLISH PROFICIENCY TEST (MSU-EPT)...

หลักเกณฑ์การรับข้อเสนอทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา

หลักเกณฑ์การรับข้อเสนอทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา

หลักเกณฑ์การรับข้อเสนอทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา งบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568...

การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม. จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต67

การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม. จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต67

วันที่ 3 สิงหาคม 2567 หลักสูตร การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม.(การสอนภาษาและวรรณกรรมไทย) ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิตหลักสูตร...

เสียงจาก รุ่นพี่ และ นักศึกษา

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

Contrary to popular belief, Lorem Ipsum is not simply random text. It has roots in a piece of classical Latin literature from 45 BC, making it over 2000 years old. Richard McClintock, a Latin professor at Hampden-Sydney College in Virginia

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

It is a long established fact that a reader will be distracted by the readable content of a page when looking at its layout. The point of using Lorem Ipsum is that it has a more-or-less normal distribution of letters, as opposed to using ‘Content here, content here’, making it look like readable English. 

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

Your content goes here. Edit or remove this text inline or in the module Content settings. Edit or remove this text inline or in the module Content settings.

ชื่อ-นามสกุล

There are many variations of passages of Lorem Ipsum available, but the majority have suffered alteration in some form, by injected humour, or randomised words which don’t look even slightly believable. If you are going to use a passage of Lorem Ipsum, you need to be sure there isn’t anything embarrassing hidden in the middle of text.

หน่วยงานภายใน

กองแผนงาน

กองการเจ้าหน้าที่

กองกิจการนิสิต

กองคลังและพัสดุ

กองบริการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย

สำนักงานวิทยบริการ

สำนักคอมพิวเตอร์

สำนักศึกษาทั่วไป

หน่วยงานภายนอก

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

เมนูหลัก

หน้าหลัก

เกี่ยวกับคณะ

บุคลากร

หลักสูตรปริญญาตรี

หลักสูตรปริญญาโท

หลักสูตรปริญญาเอก

งานวิจัย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
รหัสไปรษณีย์ 44150

โทรศัพท์ : 043-754-369
เบอร์ภายใน : 4704 , 4703
มือถือ : 089-710-4115
E-mail : [email protected]

Copyright © 2022-2024 human.msu.ac.th All rights reserved.

ผู้ดูแลเว็บไซต์ : นายอรรถสิทธิ์ ศรีรักษ์
E-mail : [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : 091-132-7411 , 4717 (ภายใน)

 

099304
Views This Year : 136030

Pin It on Pinterest