จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)

1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ
3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนและผู้ประเมิน
5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง


จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)

1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. หากผู้ประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
3. ผู้ประเมินบทความควรรับประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ


จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

1. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
2. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความ ของตนเอง เช่น รูปภาพ ตาราง เป็นต้น
3. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรููปแบบและเนื้อหา
4. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (Template) ของวารสารมนุษย์กับสังคม
5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง
6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือหากมีผลประโยชน์ ทับซ้อน จะต้องระบุในบทความอย่างชัดเจน และแจ้งให้กองบรรณาธิการวารสารมนุษย์กับสังคมทราบ
7. ผู้เขียนต้องไม่นำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง
8. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความต้องขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน
9. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็น การสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่งหรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุุป
10. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลอง ในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบ หนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารมนุษย์กับสังคมถือเป็นที่สิ้นสุด
บทลงโทษการคัดลอกผลงานหรือส่งผลงานซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น

หากกองบรรณาธิการวารสารมนุษย์กับสังคมพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือตนเองโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูลของผู้อื่นหรือตนเองโดยมิชอบ บทความนั้นจะต้องถูกระงับการประเมิน และถูกถอดถอนบทความ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะติดต่อผู้เขียนเพื่อแจ้งปฏิเสธการตีพิมพ์ และผู้เขียนบทความต้องได้รับบทลงโทษที่ทางวารสารฯ กำหนด ดังนี้
1. ผู้เขียนที่กระทำผิดจริยธรรมการส่งผลงานตีพิมพ์ จะถูกถอดถอนบทความนั้น โดยบรรณาธิการวารสารฯ จะดำเนินการถอดถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ
2. ผู้เขียนที่กระทำผิดจริยธรรมการส่งผลงานตีพิมพ์ จะถูกระงับการส่งผลงานในวารสารมนุษย์กับสังคมเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่กองบรรณาธิการวารสารฯ ตรวจพบการกระทำผิดจริยธรรมการส่งผลงานตีพิมพ์
3. กองบรรณาธิการวารสารฯ จะดำเนินการทำหนังสือแจ้งข้อมูลการกระทำผิดจริยธรรมการส่งผลงานตีพิมพ์ไปยังต้นสังกัดของผู้เขียน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษตามสมควร